มี 30 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

Blog

ความรู้เรื่องภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Programming language)


        ภาษาคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมและสั่งงานให้เครื่องทำงานตามคำสั่งเพื่อให้ผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้ต้องการซึ่งในปัจจุบันภาษาคอมพิวเตอร์ได้มีผู้พัฒนาออกมาหลากหลายภาษาผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทำความเข้าใจถึงหลักการเขียนรูปแบบโครงสร้างคำสั่งขอภาษานั้นๆโดยภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ คือ
    

    
        1.1 ภาษาเครื่อง (Machine Language)
        1.2 ภาษาระดับต่ำ (Low level language)
        1.3 ภาษาระดับสูง (High level Language)
        1.4 ภาษาระดับสูงมาก (Very High-level Language)
        1.5 ภาษาธรรมชาติ (Nature language)
        
        1.1 ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาเดียวที่เครื่องสามารถปฏิบัติงานตามคำสั่งได้ทันทีโดยไม่ต้องมีตัวแปลภาษาอื่นใดเข้ามาช่วย ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สุด โดยช่วงก่อนปี ค.ศ. 1952 เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ด้วยภาษาเครื่องภาษาเดียวเท่านั้น เนื่องจากยุคนั้นยังไม่มีการพัฒนาภาษาระดับอื่นๆ เข้ามาเพื่อช่วยในการทำงาน อีกทั้งคำสั่งของภาษาเครื่องจะใช้เลขฐานสอง คือ 0 กับ 1 แทนข้อมูล และคำสั่งต่างๆ ทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยประมวลผลที่ใช้ นั่นคือแต่ละเครื่องก็จะมีรูปแบบของคำสั่งเฉพาะของตนเอง ซึ่งนักคำนวณและนักเขียนโปรแกรมในสมัยก่อนต้องจักวิธีที่จะรวมตัวเลขเพื่อแทนคำสั่งต่างๆ ทำให้การเขียนโปรแกรมยุ่งยากมากไม่เหมาะสำหรับการพัฒนาโปรแกรมทางด้านธุรกิจ

        1.2 ภาษาระดับต่ำ (Low level language) เนื่องจากภาษาเครื่องเป็นภาษาที่ยากแก่การทำความเข้าใจและยากในการประยุกต์ใช่งาน ทำให้ผู้มีพัฒนารหัสและสัญลักษณ์มาแทนตัวเลข 0 กับ 1 โดยใช้อักขระในภาษาอังกฤษมามีส่วนร่วมในการสั่งงาน จึงทำให้มีการสั่งงานได้ง่ายยิ่งขึ้นแต่ก็ยังคงยากสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาโปรแกรม ซึ่งได้แก่ ภาษาแอสเซมบลี ( Assembly language ) เกิดขึ้นปี ค.ศ. 1952 โดยภาษาแอสเซมบลีใช้รหัสเป็นคำแทนคำสั่งภาษาเครื่อง ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ถึงแม้ว่าการเขียนโปรแกรมจะยังไม่สะดวกเท่ากับการเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ในสมัยนี้ แต่ท้าเปรียบเทียบใยสมัยนั้นถือว่าเป็นการพัฒนาไปสู่ยุคของการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ ถือใช้สัญลักษณ์แทนเลข 0 และ 1 ของภาษาเครื่อง แม้ว่าจะเป็นภาษาที่ใกล้เคียงภาษาเครื่องแต่ละโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีต้องใช้ แอสเซมบลี ( Assembly ) แปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการอีกทอดหนึ่ง

        1.3 ภาษาระดับสูง (High level Language) เริ่มถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1960 โดยภาษาระดับสูงจะใช้คำในภาษาอังกฤษแทนคำสั่งต่างๆ รวมทั้งสามารถใช้นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ไดด้วยทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถใช้เวลามุ่งไปในการศึกษาเท่านั้น ไม่ต้องเป็นกังวลว่าคอมพิวเตอร์จะทำงานอย่างไรอีกต่อไป

        1.4 ภาษาระดับสูงมาก (Very High-level Language) หรือภาษายุคที่ 4 (Fourth-Generation Language) หรือ 4 GLs เป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมได้สั้นกว่าภาษายุคก่อนๆ โดยภาษายุคที่4 นี้มีคุณสมบัติที่จะแยกภาษายุคก่อนอย่างชัดเจน กล่าวคือภาษาในยุคก่อนนั้นใช้หลักการของการเขียนโปรแกรม แบบโพรซีเยอร์ (Procedure Language) ซึ่ในขณะภาษายุคที่ 4 จะเป็นแบบ ไม่ใช่โพรซีเยอร์ (Non-Procedure Language) ผู้เขียนโปรแกรมเพียงแต่กำหนดว่าต้องการให้โปรแกรมทำอะไรบ้างก็สามารถเขียนโปรแกรมได้ทันที โดยไม่ต้องทราบว่าทำได้อย่างไร ทำให้การเขียนโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วและภาษายุคที่ 4 นี้ยังมีภาษาที่ใช้สำหรับเรียกข้อมูลจากฐานข้อมูลได้ เรียกว่า ภาษาเรียกค้นข้อมูล (Query language) โดยปกติแล้วการเก็บข้อมูล การแสดงรายการจากฐานข้อมูลต้อง จะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า แต่บางครั้งอาจมีการเรียกข้อมูลพิเศษทีไม่ได้มีการวางแผนไว้ถ้าผู้ใช้เรียนภาษาเรียกค้นข้อมูลก็ต้องดูรายงานต่างๆ นอกเหนือจากที่ได้มีการวางแผนไว้ได้โดยใช้เวลาไม่มากนัก ภาษาเรียกค้นข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน เรียกว่า Query Bu Example หรือ QBE ที่ได้รับความนิยมในการใช้งานมากเช่นกัน

    1.5 ภาษาธรรมชาติ (Nature language) เป็นภาษายุคที่ 5 Fifth Generation language หรือ 5GLs ธรรมชาติ หมายถึง ธรรมของมนุษย์ คือ ไม่ต้องสนใจถึงคำสั่งหรือลำดับของข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ใช้เพียงแต่พิมพ์ที่ต้องการลงในคอมพิวเตอร์เป็นคำหรือประโยคตามที่ผู้ใช้เข้าใจซึ่งจะทำให้มีรูปแบบของคำสั่งหรือประโยคที่แตกต่างกันออกไปได้มากมาย เพราะผู้ใช้แต่ละคนอาจจะใช้ประโยคต่างกัน ใช้คำศัพท์ต่างกัน หรือแม้กระทั้งบางคนอาจจะใช้คำศัพท์แสลงก็ได้ คอมพิวเตอร์จะถามผู้ใช้เพื่อยืนยันความถูกต้อง ภาษาธรรมชาตจะใช้ ระบบฐานความรู้ (Knowledge Base System) ช่วยในการแปลความหมายของคำสั่งต่างๆ

 

2. ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ควรรู้จัก


1. Java
        Java (จาวา) เป็นหนึ่งในภาษาอันดับต้นๆ ที่ได้รับความนิยมในการสร้า Backend สำหรับเว็บแอพฯที่ต้องการความทันสมัยในการแสดงผล ด้วย Java และ Frameworks ที่มีให้ใช้ นักพัฒนาสามารถสร้างเว็บที่ปรับขนาดการแสดงผลให้เหมาะสมกับผู้ใช้ได้ทุกรูปแบบการเข้าชม ปัจจุบัน Java มักใช้พัฒนาแอพฯแอนดรอยส์สำหรับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต

2. JavaScript

        ปัจจุบันเกือบทุกเว็บไซต์มีการใช้งาน JavaScript หากเราต้องการสร้างเว็บที่สามารถตอบโต้กับผู้ใช้งานได้ มี User interfaces ที่สวยงาม JavaScript frameworks คือ สิ่งที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณ

3. C#

        C# เป็นภาษาหลักในการพัฒนาโปรแกรมบนระบปฏิบัติการของ Microsoft เมื่อเราสร้างสร้างเว็บแอพพลิเคชั่น ด้วย Arure และ .NET สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดว์ C# เป็นภาษาที่รวดเร็วที่สุดในการเขียนโปรแกรมควบคุมทรัพยากรที่ไมโครซอฟท์มีให้ใช้ หรือแม้แต่ภาษาเกมคอมพิวเตอร์ยอดนิยมอย่าง Unity Engine ก็ใช้ C# เป็นภาษาหลักในการทำงานด้วยเช่นกัน

4. PHP

        ถ้าต้องการสร้างเว็บที่มีการใช้งานฐานข้อมูล PHP เป็นภาษาที่ทำงานร่วมกับ MySQL ในปัจจุบัน PHP เป็นภาษาที่นิยมอย่างมากในเว็บที่มีการจัดเก็บข้อมูลเนื้อหาบนเว็บไซต์ ตัวอย่างเว็บยอดนิยมประเภทนี้ก็อย่างเช่น WordPress นั่นเอง

5. C++

        ภาษา C++ ต่อยอดมาจากภาษา C ออกแบบให้ทำงานง่ายขึ้นมีความเป็น Object มากกว่าเดิม จุดเด่น คือ การทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ การเขียนโปรแกรมจำพวกจัดการหน่วยความจำ หรือเร่งประสิทธิภาพกราฟฟิค ต้องใช้ C++ ในการเขียน

6. Python

        Python เป็นภาษาที่สามารถทำได้ทุกอย่างตั้งแต่ เว็บแอพพลิเคชั่น, User interfaces, Data analysis, Statistics และหากมีปัญหาอะไรก็ตาม มันมี Framework สำหรับแก้ไขปัญหาให้ใช้มากมาย Python นิยมใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์หรืออตสาหกรรมที่มีปริมาณข้อมูลขนาดใหญ่มาก

7. ภาษา C
        แม้ว่าจะเก่าแก่แล้ว แต่ภาษา C ยังคงได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย เนื่องจากใช้ทรัพยากรเครื่องน้อย ทำงานได้รวดเร็ว และความสามารถครบถ้วน ถ้าต้องการเขียนซอฟแวร์ที่ทำงานร่วมกับไฟล์ระดับ Kernels หรือเขียนโปรแกรมที่รีดทรัพยากรออกมาได้ทุกหยดแล้วล่ะก็ต้อง ภาษา C เท่านั้น

8. SQL
        ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตมีขนาดใหญ่ขึ้นทุกวัน SQL มีความสามารถในการค้นหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการได้อย่างรวดเร็ว สามารถค้นข้อมูลซ้ำๆ ได้อย่างแม่นยำ ด้วย SQL การระบุตำแหน่งของข้อมูลที่ต้องการในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ไม่ใช่เรื่องยาก

9. RUBY
        ถ้าต้องการสร้างโปรเจคส์ภายในเวลาจำกัด หรือสร้างตัวโปรแกรมเวอร์ชั่นทดสอบออกมาลองใช้งาน Ruby เป็นภาษาที่ถูกหยิบขึ้นมาใช้ เนื่องจากใช้งานง่าย และไม่ซับซ้อน แต่ไม่ใช่ว่างานใหญ่จะใช้ RUBY ไม่ได้นะ Twitter เว็บนี้ก็เขียนด้วย RUBY นะเอ้อ แต่ด้านความเร็ว PYTHON ทำงานรวดเร็วกกว่า แต่แลกมาด้วยความซับซ้อนในการเขียนที่ยากกว่า

10. Objective-C
        ถ้าสนใจที่จะเขียนแอพฯ iOS คุณจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษานี้ แม้ว่าปลายปีที่แล้วทาง Apple จะเปิดตัวภาษาใหม่ "Swift" แต่ Objective-C ก็ยังไมีการใช้งานกันอยู่อย่างแพร่หลาย โดยทำงานร่วมกับ XCode ชุดพัฒนาซอฟท์แวร์ของ Apple ปัจจุบันตลาดแอพฯเป็นที่สนใจของผู้ลงทุน ดังนั้นใครเขียนเป็นหางานไม่ยากแน่นอน

11. Perl
        เป็นภาษาที่ทรงพลังและอยู่คู่กับเว็บไซต์มาตั้งแต่จุดเริ่มต้น และเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านไอที มีความปลอดภัยในการทำงานสูง

12. .NET
        ตัวมันเองไม่ใช่ภาษาสำหรับเขียนโปรแกรม แต่ก็เป็นกุญแจสำคัญจากไมโครซอฟท์สำหรับทำงานกับ Cloud, Service และ การพัฒนาแอพ และด้วยความที่มันเป็น Open-Source มันกำลังเข้ามามีบทบาทบนแพลตฟอร์มของ Google และ Apple ทำให้ตัว .NET จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างแอพที่รองรับหลายแพลตฟอร์ม

13. Visual Basic
        ภาษาสำคัญที่ประสบความสำเร็จในวงการธุรกิจ เป็นหนึ่งในภาษาหลักของ .NET สามารถสร้างแอพพลิเคชั่นขึ้นมารองรับภาคธุรกิจ และสร้างเอกสารอัตโนมัติอย่าง Excel ได้อัตโนมัติ ทำให้งานต่างๆ ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น

14. R
        R เป็นภาษาที่ทรงพลังและปฏิวัติข้อมูลครั้งใหญ่ เป็นภาษาที่นักพัฒนาจำเป็นต้องรู้จักในปี 2015 หากต้องการทำ Data analysis ทั้งจากด้านวิทยาศาสตร์, ธุรกิจ, บันเทิง และ Social Media

15. Swift
        เป็นภาษาใหม่ที่มีอายุไม่ถึงปีด้วยซ้ำ Swift สร้างขึ้นโดยบริษัท Apple และเป็นจับตาของนักพัฒนาทันที เนื่องจากถูกออกแบบมาให้ทำงานได้รวดเร็ว และง่ายดาย ทำให้การพัฒนาแอพฯสำหรับ Mac และ iOS มีความง่ายขึ้น

 

Related Articles

String ในภาษา TypeScript

Helix3 edit image background

How Marching for Science Risks Politicizing It

How Marching for Science Risks Politicizing It

ข้อมูล

ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่      www.somcoms.com  

โทร. 083-792-5426

E-mail:: admin@somcoms.com
ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความไว้วางใจให้เราดูแล